วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่1

ให้นักศึกษาค้นหาความหมายคำว่า  การจัดการชั้นเรียน  การบริหารการศึกษา  จากหนังสือ อินเตอร์เน็ตแล้วสรุปแล้วเขียนลงบทลงในกิจกรรมที่ 1 ของเว็บล็อกของนักศึกษา

     


การจัดการชั้นเรียน หมายถึง การจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน เพื่อสนับสนุนให้เด็กเกิดการเรียนอย่างมีความสุข

การจัดสภาพแวดล้อมต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้

1.ความสะอาด และความปลอดภัย

2.ความมีอิสระอย่างมีขอบเขตในการเล่น

3.ความสะดวกในการจดกิจกรรม

4.ความพร้อมของอาคารสถานที่ เช่นห้องเรียน ห้องน้ำห้องส้วม สนามเด็กเล่น เป็นต้น

5.ความเพียงพอเหมาะสมของเรื่องสื่อการเรียนการสอน

6.บรรยากาศในการเรียนรู้

การกำหนดแนวทางการจัดการชั้นเรียน

จัดทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนที่เอื้อต่อการเีรียนรู้ของเด็ก เพื่อส่งเสริมเด็กให้เรียนรู้ตามธรรมชาติ และสอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กแต่ละวัย

1.ภายในห้องเรียน เน้นความสะอาด สวยงาม ปลอดภัย ภายในจะมีมุมประสบการณ์ พร้อมสื่ออุปกรณ์ เพื่อให้ได้เรียนรู้จากการใช้สัมผัสทั้ง 5 มุมประสบการณ์ เช่นมุมหนังสือ มุมดนตรี เป็นต้น

2.ภายนอกห้องเรียน จัดแต่งบรรยากาศของอาคารสถานที่ให้สะอาดร่มรื่นสวยงามปลอดโปร่ง เพือพัฒนาพัฒนาการของเด็ก

หลักการที่สำคัญของการจดการห้องเรียนที่สำคัญอีกอย่างหหนึ่งคือ สะอาด ความปลอดโปร่ง ร่มรื่น ทั้งภายในแลภายนอกห้องเรียน และคำนึงถึงความปลอดภัย เป้หมายการเรียน และความเป็นระเบียบเรียบร้อยความเป็นตัวเองของเด็ก เพื่อให้เด็กเกิดความรู้สึกอบอุ่น มั่นใจ มีความสุขในการเรียนคะ




“การบริหารการศึกษา” หมายถึง กิจกรรมต่างๆ ที่บุคคลหลายคนร่วมกันดำเนินการ เพื่อพัฒนาสมาชิกของสังคมในทุกๆ ด้าน นับแต่ บุคลิกภาพ ความรู้ ความสามารถ เจตคติ พฤติกรรม คุณธรรม เพื่อให้มีค่านิยมตรงกันกับความต้องการของสังคม โดยกระบวนการต่างๆ ที่อาศัยควบคุมสิ่งแวดล้อมให้มีผลต่อบุคคล และอาศัยทรัพยากร ตลอดจนเทคนิคต่างๆ อย่างเหมาะสม เพื่อให้บุคคลพัฒนาไปตรงตามเป้าหมายของสังคมที่ตนดำเนินชีวิตอยู่

กระบวนการบริหารการศึกษา
จากหลักการบริหารทั่วไป 14 ข้อของ Fayol ทำให้ต่อมา Luther Gulick ได้นำ

มาปรับต่อยอดเป็นที่รู้จักกันดีในตัวอักษรย่อที่ว่า “POSDCoRB” กลายเป็นคัมภีร์ของการจัดองค์การในต้นยุคของศาสตร์การบริหารซึ่งตัวย่อแต่ละตัวมีความหมายดังนี้

P – Planning หมายถึง การวางแผน
O – Organizing หมายถึง การจัดองค์การ
S – Staffing หมายถึง การจัดคนเข้าทำงาน
D – Directing หมายถึง การสั่งการ
Co – Coordinating หมายถึง ความร่วมมือ
R – Reporting หมายถึง การรายงาน
B – Budgeting หมายถึง งบประมาณ



อ้างอิง
ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, และวิบูลย์ โตวณะบุตร. (2542). หลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ศิริพงษ์ เศาภายน, (2548). หลักการบริหารการศึกษา : ทฤษฎีและแนวปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : บุ๊ค พอยท์.
สมศักดิ์ คงเที่ยง, (ม.ป.ป.) หลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : มิตรภาพ การพิมพ์และสติวดิโอ

http://www.thailocaladmin.go.th/work/e_book/eb6/eb6_3/3km9.pdf

http://www.kru-itth.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=420816&Ntype=6

วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แนะนำตนเอง

                                   ประวัติส่วนตัว
             ชื่อ นางสาวนัยนา   นามสกุล ป่ากว้าง
             ชื่อเล่น โจ              อายุ 21 ปี  
                                  ประวัติการศึกษา
       จบชั้นมัธยมศึกษตอนมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนสังวาลย์วิท 7
        จบชั้นมัธยมศึกษตอนปลายจาก โรงเรียนบางขันวิทยา
        ปัจจุบัันศึกษาอยู่โปรแกรมวิชา สังคมศึกษา   คณะครุศาสตร์
          มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสรีธรรมราช
                        ปรัชญาของฉัน
    ชีวิต คือการเรียนรู้  และการเรียนรู้ที่สำคัญคือการเรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตในทางที่ถูกต้อง
เรียนรู้จากสิ่งที่อยู่รอบๆตัว   ปรับและแก้ไข เพื่อที่จะนำความรู้มาพัฒนาตนเองและพัฒนาผู้อื่น
ดังนั้นคนที่มีความรู้ต้องรู้จักปรับปรุงและพัฒนาความรู้นั้นๆให้ทันสมัยอยู่เสมอ