วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่7

การจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพ   ให้นักศึกษาเปิดไฟล์ข้อมูลและสรุปการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพเป็นอย่างไร และนักศึกษาจะมีวิธีการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพได้อย่างไร  อ่านจากบทความนี้และนำแนวคิดมาใช้ในการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพ
        
     ปัญหาอย่างหนึ่งที่พบได้บ่อยและมากในหลายโรงเรียน คือ การควบคุมดูแลนักเรียนให้อยู่ในระเบียบวินัยและตั้งใจเรียน แม้กระทั่งครูที่มีประสบการณ์ด้านการสอนที่มีความเชื่อมั่นในวิธีการควบคุมชั้นเรียน โดยนักเรียนต้องเชื่อฟังและอยู่ในระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด ซึ่งเป็นแนวทางที่ไม่สอดคล้องกับแนวการเรียนการสอนในปัจจุบันที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ ให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้นั้นๆ ได้คิดลงมือทำกิจกรรมอย่างกระตือรือร้น ตื่นตัว ตื่นใจ หรือมีใจจดจ่อผูกพันกับสิ่งที่ทำ มิใช่เพียง ทำไปให้เสร็จภารกิจเท่านั้น ดังนั้นการที่ครูจะจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ ผู้เรียนมีส่วนร่วมนั้น กิจกรรมนั้นจะต้องมีลักษณะที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอย่าง “active” คือช่วยให้ผู้เรียนรู้สึกมีความกระตือรือร้นตื่นตัว มีความจดจ่อ ผูกพันกับสิ่งที่ทำ เพื่อก่อให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง และครูที่สามารถดำเนินการดังกล่าวให้ประสบความสำเร็จนั้นจึงได้รับการยอมรับว่าเป็น ครูมืออาชีพ
ดังนั้น ครูมืออาชีพจึงเป็นครูที่มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอน มีความสามารถจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบมีประสิทธิภาพ รวมถึงต้องพัฒนาทักษะวิชาชีพของตนเองอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง เพื่อมุ่งพัฒนาศักยภาพของนักเรียนอย่างแท้จริงดังนั้นการบริหารจัดการชั้นเรียนตลอดจนการสร้างบรรยากาศที่กระตุ้นส่งเสริมให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้หรือสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองจึงเป็นสิ่งที่ครูมืออาชีพต้องให้ความสำคัญและสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การจัดการชั้นเรียน คือ การจัดสภาพของห้องเรียน
ทางด้านกายภาพหรือการตกแต่งห้องเรียนด้วยวัสดุตกแต่งเพื่อเป็นการจูงใจนักเรียนให้มีความ
สนใจและตั้งใจเรียน นั่นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการจัดการชั้นเรียนเท่านั้น หากแต่ต้องมีการ
สร้างสรรค์และเอาใจใส่สภาพบรรยากาศภายในห้องเรียนด้วยเช่นกัน ครูจึงเป็นบุคคลที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยในการรับหน้าที่เป็นผู้สร้างและส่งเสริมกระบวนการเรียนการสอน กระตุ้นความใฝ่รู้และใส่ใจในการศึกษาของผู้เรียน สร้างความมีระเบียบวินัยให้กับผู้เรียน
การจัดการชั้นเรียนมีความสำคัญ ด้วยเหตุผลหลายประการ คือ
- การเรียนรู้จะเกิดขึ้นไม่ได้หรือเกิดได้น้อยถ้ามีสิ่งรบกวนในชั้นเรียนอยู่ตลอดเวลาด้วย
ปัญหาทางด้านพฤติกรรมของนักเรียน
- นักเรียนที่อยู่ในชั้นเรียนที่ไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย สิ่งแวดล้อมในชั้นเรียนมีเสียงดังและ
สิ่งรบกวน หรือการจัดที่นั่งไม่เหมาะสมอาจเกิดสาเหตุให้เกิดปัญหาทางวินัยนำไปสู่การแสดง
พฤติกรรมที่ก้าวร้าว หรือทำให้นักเรียนไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ส่งผลให้นักเรียนไม่สามารถเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่
            ดังนั้น จะเห็นว่าการจัดการบริหารชั้นเรียนเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้เรียนเกิดความ
กระตือรือร้นในการเรียนและร่วมกิจกรรมต่างๆ โดยมีครูเป็นผู้วางแผนและกระบวนการส่งเสริมทั้งทางด้านกายภาพ จิตวิทยา และสังคม โดยมีสอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์ (Maslow)ที่กล่าวว่ามนุษย์ทุกคนมีความต้องการพื้นฐานอย่างเป็นลำดับขั้น เริ่มตั้งแต่ขั้นความต้องการทางด้านร่างกาย ขั้นความต้องการความมั่นคง ขั้นความต้องการการยอมรับและยกย่องจากสังคมและขั้นความต้องการพัฒนาศักยภาพของตนอย่างเต็มที่ ทำให้ต้องการพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทำให้ครูต้องเป็นผู้ช่างสังเกตว่านักเรียนมีความต้องการพื้นฐานในระดับใด และพยายามช่วยเหลือตอบสนองความต้องการของนักเรียน ให้ความเป็นอิสระและเสรี รวมทั้งจัดบรรยากาศการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียน เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และรู้จักตนเอง

วิธีการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพ
การจัดการชั้นเรียนแบบมืออาชีพนั้นคนที่เป็นครูควรยึดหลักดังต่อไปนี้
1.   หลักประชาธิปไตย
ครูควรให้ความสำคัญต่อนักเรียนเท่าเทียมกัน ให้ความเสมอภาค ให้อิสระ ให้โอกาสแก่ทุกคนในการแสดงความคิดเห็น ขณะเดียวกันครูต้องใจกว้าง ยินดีรับฟังความเห็นของทุกคน และควรฝึกให้นักเรียนปฏิบัติตนตามสิทธิหน้าที่ รู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่น ให้รู้จักการอยู่ร่วมกันอย่างประชาธิปไตย

2.   หลักความยุติธรรม
 ครูควรปกครองโดยใช้หลักความยุติธรรมแก่นักเรียนทุกคนโดย
ทั่วถึง นักเรียนจะเคารพศรัทธาครู และยินดีปฏิบัติตามกฎระเบียบของครู ยินดีปฏิบัติตามคำอบรมสั่งสอนของครู ตลอดจนไม่สร้างปัญหาในชั้นเรียน
3.   หลักพรหมวิหาร 4
ได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ซึ่งมีความหมายดังต่อไปนี้
เมตตา หมายถึง ความรักและเอ็นดุ ความปรารถนาที่จะให้ผู้อื่นเป็นสุข
กรุณา หมายถึง ความสงสาร คิดจะช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
มุทิตา หมายถึง ความยินดีด้วยเมื่อผู้อื่นได้ลาภยศ สุข สรรเสริญ
อุเบกขา หมายถึง ความเที่ยงธรรม การวางตัวเป็นกลาง การวางใจเฉย
ถ้าครูทุกคนยึดหลักพรหมวิหาร 4 ในการปกครองชั้นเรียน นอกจากจะทำให้นักเรียนมีความ
เคารพรักศรัทธาครู และมีความสุขในการเรียนแล้วยังเป็นการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ให้แก่
นักเรียนด้วย
4.   หลักความใกล้ชิด
การที่ครูแสดงความเอาใจใส่ ความสนใจ ให้ความใกล้ชิดกับ
นักเรียน เป็นวิธีการหนึ่งในการสร้างบรรยากาศทางด้านจิตวิทยา วิธีการแสดงความสนใจนักเรียนทำได้หลายวิธี ซึ่งประกอบด้วย
1. ครูจะต้องรู้จักนักเรียนในชั้นทุกคน รู้จักชื่อจริง ชื่อเล่น ความสนใจของเด็กแต่ละคน
เป็นต้นว่า งานอดิเรก มีพี่น้องกี่คน จุดเด่น จุดด้อย ของนักเรียนแต่ละคน
2. ครูจะต้องแสดงความสนใจในสารทุกข์สุขดิบของเด็กแต่ละคน เช่น หมั่นถามความ
เป็นไปของพี่น้อง ความคืบหน้าของการสะสมแสตมป์ คือ ไม่เพียงรู้แต่ว่าเด็กเป็นอะไรในข้อ 1 แต่รู้ข่าวคราวเคลื่อนไหว
ของสิ่งเหล่านั้นด้วย
3. ครูจะมอบเวลาของตนเพื่อเด็ก เวลาที่นอกเหนือจากงานสอน ได้แก่ เวลาเย็นหลังเลิก
เรียน ช่วงพักระหว่างการเรียน เพื่อช่วยเด็กที่ต้องการการช่วยเหลือเป็นพิเศษ ว่าต้องการขอ
คำปรึกษา ต้องการขอคำแนะนำในการหารายได้พิเศษ ครูจะต้องพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือเด็กได้ตลอดเวลา
4. ครูจะต้องใกล้ชิด สัมผัสทั้งร่างกายและจิตใจ คำสั่งสอนและการกระทำของครูจะต้อง
สอดคล้องกัน เป็นต้นว่า ถ้าครูจะอบรมสั่งสอนเด็กเรื่องความซื่อสัตย์ ครูจะต้องปฏิบัติตนเป็นคนซื่อสัตย์ด้วยเช่นกัน กายสัมผัสก็เป็นสิ่งจำเป็น การจับต้องตัวบ้าง จะเป็นสื่อนำให้เด็กรู้สึกถึงความใกล้ชิดสนิทสนม

นำแนวคิดมาใช้ในการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพ
เราสามารถที่จะนำหลักการดังกล่าวมาใช้เพื่อที่จะเป็นแนวทางหรือแนวคิดในการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพของเรา    ได้คือเราสามารถสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน ถ้าปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนเป็นไปด้วยดี หมายถึง ทั้งครูและนักเรียนต่างมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ซักถาม ครูให้ความเป็นกันเองแก่นักเรียน ให้นักเรียนมีอิสระ ในการทำกิจกรรมต่างๆ ในห้องเรียน หรือนอกห้องเรียนและบรรยากาศภายในห้องเรียนก็จะไม่ตึงเครียด เป็นบรรยากาศที่รื่นรมย์ น่าเรียน น่าสอน ซึ่งจะส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี แนวทางในการสร้างความสัมพันธ์อย่างเป็นระบบและเราก็สามารถนำการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพไปใช้สอนกับนักเรียนหรือนักศึกษาและใช้ในชีวิตประจำวันได้    และอีกประการหนึ่งคือ  การจัดการชั้นเรียนแบบมืออาชีพที่สำคัญอีกอย่าง  คือ การเน้นผู้เรียนเป็นส่วนสำคัญ  ในการทำกิจกรรมทุกครั้งครูจะต้องมีกิจกรรมที่สอดคล้องกับเนื้อหาการเรียนหรือช่วยผ่อนคลายความเครียดแก่นักเรียน  ทำให้นักเรียนมีความตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา  จะทำให้ไม่เกิดปัญหานักเรียนหลับในห้องเรียนคะ







กิจกรรมที่6


ให้นักศึกษาอ่านบทความนี้ สรุปและแสดงความคิดเห็น มาตรฐานวิชาชีพและนำไปใช้ในการประกอบวิชาชีพครูอย่างไร

             สรุปว่า         ทุกวิชาชีพย่อมต้องมีมาตรฐานของวิชาชีพ เพื่อวัด หรือประมาณค่าผู้ปฏิบัติการวิชาชีพ ตามมาตรฐานด้านความรู้ ทักษะ และประสบการณ์วิชาชีพ ซึ่งมาตรฐานด้านความรู้คือ มาตรฐานด้านประสบการณ์และทักษะวิชาชีพ จะต้องถูกกำหนดขึ้นโดยองค์กร หรือสมาคมวิชาชีพของแต่ละวิชาชีพ
การที่องค์กรด้านวิชาชีพต่างๆ ได้กำหนดให้มีมาตรฐานวิชาชีพของตน ถือเป็นภาระหน้าที่เพื่อความมุ่งประสงค์ในการรักษา ส่งเสริม และพัฒนาอาชีพของตนให้มีมาตรฐานสูงที่สุด โดยให้ผู้ปฏิบัติการ ผู้รับบริการ ผู้เกี่ยวข้องและสาธารณชนได้เห็นความสำคัญของการอาชีพนั้นๆ และเพื่อให้การอาชีพนั้นๆ สามารถคงอยู่ได้ด้วยความมีคุณค่า เป็นที่ยอมรับนับถือและได้รับการยกย่อง   สำหรับวิชาชีพทางการศึกษานั้น คำว่า มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษามีความสำคัญอย่างยิ่ง เป็นทั้งการสร้าง การพัฒนา รวมทั้งการเสริมให้บุคคลมีคุณภาพ มีศักยภาพ ที่จะเป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของชุมชน สังคม และประเทศหากมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาไม่มีมาตรฐาน หรือมาตรฐานต่ำก็ย่อมเป็นตัวบ่งชี้ระบบการศึกษาจะสร้างหรือพัฒนาประชาชนให้มีคุณภาพที่จะมีชีวิตที่ก้าวหน้าและเป็นสุขได้ยากลำบาก
       
มาตรฐานวิชาชีพ หมายถึง จุดมุ่งหมายหลักทีจะสร้างแนวทางปฏิบัติ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ เพื่อให้เกิดความมั่นใจในวิชาชีพของผู้ปฏิบัติ เพื่อให้การปฏิบัติงานอาชีพมีคุณภาพสูงสุด
วิชาชีพที่มีมาตรฐาน จึงได้รับการยกย่องให้เป็นวิชาชีพชั้นสูงเพราะผู้ประกอบวิชาชีพ นอกจากต้องมีความรู้และทักษะในวิชาชีพแล้วยังต้องมีความรับผิดชอบสูง เพราะเกี่ยวข้องกับผู้รับบริการและสาธารณชน จึงต้องมีการควบคุมการประกอบวิชาชีพเป็นพิเศษ เพื่อให้เกิดความมั่งใจต่อผู้รับบริการและสาธารณชน
            สำหรับความหมายของคำว่า มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา มีความหมายที่เป็นอาชีพชั้นสูงเช่นเดียวกับอาชีพชั้นสูงอื่นๆ เช่น แพทย์ วิศวกร สถาปนิก ทนายความ พยาบาล และอื่นๆ
แต่ที่มีความต่างที่สำคัญก็เพราะมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาเป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ ที่ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องประพฤติปฏิบัติตาม เพื่อให้เกิดคุณภาพในการประกอบวิชาชีพ สามารถสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาให้แก่ผู้รับบริการจากวิชาชีพได้ว่า เป็นบริการที่มีคุณภาพ และตอบสังคมได้ด้วยว่า การที่กฎหมายให้ความสำคัญกับวิชาชีพทางการศึกษา และกำหนดให้เป็นวิชาชีพควบคุมโดยต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพนั้น
          ดิฉันขอแสดงความคิดเห็นว่า  มาตรฐานวิชาชีพครูนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับการประกอบวิชาชีพครู  เพราะมาตรฐานนั้นต้องผ่านการวัดและประเมินผลมา และขั้นตอนของการฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่ใช้ความรู้ที่ได้รับมาถ่ายทอดและบูรณการให้เกิดความรู้ใหม่ๆๆและเทคโนโลยีต่างๆๆ  มาตรฐานวิชาชีพครูมีความหมายครอบคลุมเกี่ยวกับ
๑.มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครู มาตรฐานข้อนี้ ประกอบด้วย มาตรฐาน ๒ ส่วน ได้แก่
มาตรฐานความรู้ หมายถึง ข้อกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพครู มีคุณวุฒิทางการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง โดยต้องมีสาระความรู้และสมรรถนะตามมาตรฐาน
ด้านภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู

ด้านการพัฒนาหลักสูตร

ด้านการจัดการเรียนรู้ด้านจิตวิทยาสำหรับครู
ด้านการวัดและประเมินผลการศึกษา
ด้านการบริหารจัดการในห้องเรียน
ด้านการวิจัยทางการศึกษา
ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
ด้าน ความเป็นครู
    ซึ่งสาระความรู้ทั้งหลายเหล่านี้มีความสำคัญมากในการเรียนรู้ของนักเรียนที่ครูจะต้องใช้ทักษะการสอนหรือบูรณการสอนให้นักเรียนเรียนรู้เกิดความรู้ความเข้าใจโดยการใช้เทคนิควิธีการสอน การจัดการเรียนและที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับการเป็นครูคือจรรยาบรรณความเป็นครูทั้งจิตวิญาณมีความเสียสละอดทน อื่นๆๆๆ
มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ ผู้ประกอบวิชาชีพครูจะต้องผ่านการฝึกทักษะและสมรรถนะของวิชาชีพครูในด้านการปฏิบัติการสอน รวมทั้งทักษะและสมรรถนะด้านการสอนสาขาวิชาเฉพาะในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด คือ การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน
         การฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาในสาขาวิชาเฉพาะ

๒. มาตรฐานการปฏิบัติงาน มีความหมายครอบคลุมมาตรฐานย่อยๆ ของการปฏิบัติงาน ๑๒ ประการด้วยกัน คือ
- ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ
- ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผู้เรียน
- มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
- พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง
- พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
- จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
- รายงานผลกรพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ
- ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีกับผู้เรียน
- ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์
- ร่วมมือกับผู้อื่นในชุมชนอย่างสร้างสรรค์
- แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
- สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์

๓. มาตรฐานการปฏิบัติตน  หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับความประพฤติของผู้ปฏิบัติวิชาชีพ จะต้องประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณของมาตรฐานวิชาชีพครู ๕ ประการดังต่อไปนี้
- จรรยาบรรณต่อตนเอง
- จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
- จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
- จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
- จรรยาบรรณต่อสังคม

พื้นฐานและแนวคิด  

       ความเชื่อของการมีมาตรฐานวิชาชีพ มิใช่มีไว้เพื่อมุ่งในการควบคุมหรือกำกับผู้ประกอบวิชาชีเท่านั้นหากแต่ยังมีพื้นฐานของความคิดความเชื่ออีกบางประการคือ
 
- เป็นมาตรการของการให้ความสนับสนุนและช่วยเหลือผู้ประกอบวิชาชีพเพื่อสามารถพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพเป็นทั้งรายบุคคลและเป็นกลุ่มบุคคล


- เป็นมาตรฐานที่ทำให้ผู้ประกอบวิชาชีพสามารถเลื่อนตำแหน่งวิชาชีพ เพิ่มคุณวุฒิ คุณภาพ คุณสมบัติ รวมทั้งทักษะและเจตคติในการประกอบวิชาชีพ

- เป็นมาตรการที่จะเพิ่มมาตรฐานในระดับวิชาชีพที่ทำอยู่ในด้านความรู้ความเข้าใจ และสมรรถนะของบุคคลให้มีความเป็นมืออาชีพในวิชาชีพยิ่งขึ้น
บทบาทสำคัญต่อสังคมและความเจริญของประเทศที่สำคัญด้วยคือ (มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ๒๕๔๘: ๑)
- สร้างพลเมืองดีของประเทศ โยให้การศึกษาขึ้นพื้นฐานที่ประเทศต้องการ
- พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อสนองต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
- สืบทอดวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามขงอชาติ จากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่ง เพื่อรักษาความเป็นชาติไว้ให้มั่นคงและยาวนาน
การนำมาตรฐานวิชาชีพครูไปใช้ในการประกอบวิชาชีพครู
คือการทำให้มีคุณภาพที่สูงขึ้นในการประกอบวิชาชีพ  ไม่ใช่ว่าใครจะมาสอนหนังสือก็ได้  แต่คนที่จะมาเป็นครูต้องมีมาตรฐานความรู้การศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าที่ผ่านการทดสอบปฏิบัติจนมีความรู้ทักษะกระบวนการคิดการบูรณการความรู้ให้แก่นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจที่ได้มาจากมาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ  และสร้างเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพทำให้มีความสุขกับการเป็นครูมีความภาคภูมิใจในตังเอง  และยังเป็นการทำให้ครูมุ่งมั่นที่พัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพและอื่นๆ    และมาตรฐานของครูนั้นยังมีอีกเรื่องคือ การปฏิบัติตนของครูปฏิบัติตามจรรยาบรรณมาตรฐานความเป็นครูดังนั้นดิฉันคิดว่าการเป็นครูนั้น มาตรฐานวิชาชีพมีความสำคัญมากต่ออาชีพนี้  แต่อีกนัยหนึ่งคือเราต้องความศรัทธาต่อวิชาชีพ อาชีพที่เราทำ ตั้งมั่นตั้งใจพยายามทำให้เต็มที่เต็มความสามารถของเราแล้วเราจะมีความภูมิใจต่อวิชาชีพเราเองค่ะ

กิจกรรมที่5

ให้นักศึกษาอ่านบทความเรื่องต้นแบบแห่งการเรียนรู้ แล้วสรุปลงในบล็อกของนักศึกษาสิ่งที่ได้คืออะไรและจะนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาตนเองได้อย่างไร
         สิ่งที่ดิฉันได้รับจากการอ่านบทความนี้คือ   ดิฉันได้ใจความหมายและความสำคัญของคำว่าต้นแบบว่าคืออะไร 
ต้นแบบ  คือ การที่บุคคลประพฤติปฏิบัติบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี  ทั้งทางกายวาจา  จิตใจ การเรียนเรียนรู้ การใช้ชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่ากับผู้อื่น ทำตนให้เป็นประโยชน์ ผู้ที่มีความอดทนมานะพยายามขยันพากเพียร
ความสำคัญของคำว่า ต้นแบบว่ามี 2 นัย
แรกคือต้นแบบในฐานะเป็นแม่แบบ เพื่อให้ผู้ดูแบบได้เอาอย่าง ศึกษาตามพฤติกรรมต้นแบบ แล้วทำตามแบบ เลียนแบบ ต่อมาก็อาจ ประยุกต์แบบ
สองคือ ต้นแบบในฐานะเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการใฝ่รู้ใฝ่เรียน เป็นกำลังใจแก่ผู้ดูแล กระตุ้นให้ผู้ดูแบบสร้างสรรสิ่งดีงาม ต้นแบบตามนัยนี้อาจไม่ต้องมีการถ่ายทอดจากต้นแบบสู่ผู้ดูแบบ    ไม่ต้องสอนกันตรง ๆ เพียงแค่ผู้ดูแบบ....ได้เห็น... ได้รับฟังต่อ ๆ กันมาได้รับรู้ก็เกิดความปลื้มปีติ ศรัทธาเชื่อมั่น เป็นขวัญกำลังใจ แม้ไม่รู้จัก แม้เพียงแค่มอง ผู้ดูแบบก็ได้อานิสงส์มากมายแค่อยู่ให้เห็นก็เป็นแรงบันดาลใจมหาศาล
          ดังนั้นการที่เราจะเป็นต้นแบบของผู้อื่นเราต้องมีความรู้และพัฒนาความรู้นั้นให้มีความทันสมัยและสอดคล้องกับเนื้อหาและสภาพแวดล้อมของผู้เรียน     ต้องมีความอดทนและขยันมั่นเพียรทำความดีเสมอต้นเสมอปลาย และสำหรับดิฉันในอนาคตอีกไม่กี่ปีข้างหน้าดิฉันก็จะต้องทำหน้าที่ของครู และดิฉันจะต้องเริ่มจากการที่ดิฉันจะต้องเป็นต้นแบบที่ดีแก่ลูกศิษย์ลูกศิษย์ของดิฉันค่ะ
ต้นแบบแห่งการเรียนรู้มีลักษณะสำคัญ 3 ประการ คือ ต้นแบบสอนให้รู้ ต้นแบบทำให้ดู และต้นแบบอยู่ให้เห็น หากครูเป็นต้นแบบที่ดี เป็นกัลยาณมิตรของศิษย์และเพื่อนครู ก็ย่อมจะเกิดผลต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ เกิดครูดี ศิษย์ดีต่อเนื่องขยายวงต่อ ๆ กันไปผู้ที่มีวิญญาณแห่งต้นแบบการเรียนรู้ ย่อมจะไปเหน็ดเหนื่อยในการถ่ายทอด
            ต้นแบบต้องทำงานหนักและเหนื่อยทั้งเพื่อคงรักษาการเป็นต้นแบบ อีกทั้งถ่ายทอด ขยายเครือข่ายแก่ผู้ดูแบบ ทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ

วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่4

สรุปบทความ
ภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลง

         การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ การเปลี่ยนแปลงก็ได้สร้างโอกาสใหม่ๆ ให้กับหลายองค์กรเช่นกัน ประเด็นเรื่องการอยู่รอดและการเปลี่ยนแปลงเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันโดยตรง ชาร์จ ดาร์วิน ผู้ที่อยู่รอด ไม่ใช่ผู้ที่ฉลาดหรือแข็งแรงกว่าผู้อื่น   การเปลี่ยนแปลงการปรับเปลี่ยนมุมมอง (ทิฏฐิ) และทัศนคติ (Attitude)
เราจะต้องปรับเปลี่ยนองค์กรอย่างไร ให้เป็นองค์กรที่มีความยืดหยุ่น Flexible  ผ่านกระบวนการ ทำงานแบบร่วมกันเป็นทีมแทนการบริหารงานแบบดั้งเดิม จำเป็นต้องมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา ตัวอย่างเช่น เวลาเราพูดถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กร ก็เป็นเรื่องของคน การปรับเปลี่ยนระบบก็เกี่ยวกับคนจะให้ได้ผลแล้วจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้สิ่งที่เรียกว่า ภาวะผู้นำ (Leadership) มากกว่าที่จะใช้การจัดการ ภาวะผู้นำหรือความสามารถในการนำนี้ถือว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงสำเร็จ นั่นคือการกำหนดทิศทาง เป็นการวางเป้าหมายสำหรับอนาคต  แต่สำหรับผมกลับเห็นว่าการสร้างศรัทธาต่างหาก   ศรัทธาเหล่านี้มาจากไหนศรัทธาเป็นเรื่องของ ความชอบ ความเชื่อ เป็นเรื่องของการยอมรับ เป็นเรื่องของใจ ไม่จำเป็นต้องมีเหตุมีผลกำกับเสมอไปปัจจัยหลักในการสร้างศรัทธาให้เกิดขึ้นได้ในตัวผู้นำ คือคุณสมบัติในเรื่องการเป็น "ผู้ให้" หากเราลองนึกถึงผู้นำในดวงใจของเรามาสัก 2-3 คนและลองพิจารณาถึงคุณสมบัติของการเป็นผู้ให้ของผู้นำในดวงใจที่เราเลือกมาส่วนใหญ่มักจะมีคุณสมบัติที่ว่านี้ค่อนข้างชัดเจน ที่แท้คือผู้ที่ให้โดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทน แน่นอนที่สุดหากเรามองว่าธุรกิจคือการแข่งขัน เป้าหมายของการแข่งขันก็คือชัยชนะแต่สำหรับผู้นำที่แท้จริงแล้ว ชัยชนะที่เขาต้องการที่จะได้มานั้น เขามองมันในฐานะที่เป็นรางวัลสำหรับทุกคน มิใช่เพียงเพื่อตัวเขาเท่านั้น ผู้นำที่แท้ต้องการจะเห็นคนทุกคนที่ก้าวเดินไปพร้อมกับเขา  การที่ผู้นำจำเป็นต้องเป็น "ผู้ให้"เท่ากับเป็นการตอกย้ำให้เห็นเด่นชัดยิ่งขึ้นว่าผู้นำที่แท้จะต้องไม่เห็นแก่ตัว จะต้องไม่มองประโยชน์เฉพาะส่วนของตน หากผู้ใดยึดประโยชน์ส่วนของตนเป็นที่ตั้งย่อมเป็นเครื่องบ่งชี้ที่ชัดเจนว่าคนผู้นั้นย่อมมิใช่ผู้นำที่แท้จริง ผู้นำจำเป็นจะต้องเสียสละ (sacrifice) ภาวะผู้นำกับเรื่องการเสียสละเป็นสิ่งที่ถือว่าคู่กัน

กิจกรรมที่3


                                                             
                                           ผู้นำทางวิชาการ
                                       นายพรชัย    ภาพันธ์




ประวัติผู้นำทางวิชาการ

ชื่อจริง: พรชัย
ชื่อกลาง: พร
นามสกุล: ภาพันธ์
   
คำสำคัญ:
   
อาชีพ: รับราชการ ผู้อำนวยการโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 63(ชุมชนบ้านคำแดง) ตำบลเดิด อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร
ตำแหน่ง: ผู้อำนวยการโรงเรียน
องค์กร/บริษัท: โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 63(ชุมชนบ้านคำแดง)
ที่อยู่: หมู่ 17 บ้านคำแดง ตำบลเดิด
อำเภอ: เมื่อง
จังหวัด: จังหวัดยโสธร
รหัสไปรษณีย์: 35000
ประเทศ: ไทย
   
ประวัติย่อ: เกิดวันที่ 2 กุมภาพันธ์  2502 ที่ศรีสะเกษ แต่ติดตามคุณพ่อไปเติบโตที่ยโสธร
การศึกษา ปริญญาโท การบริหารการศึกษาจากสถาบันราชภัฏอุบลราชธานี
รับราชการ 1 สิงหาคม 2522
ดำรงตำแหน่งครูใหญ่จากการสอบคัดเลือก
พ.ศ.2531 และ
สอบคัดเลือกเข้าสู่ตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ พ.ศ.2536
ประเมินเข้าสู่ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน(ผอ.คุณภาพ)พ.ศ.2544
สิ่งที่ชอบทำยามว่าง เขียนบทความทางวิชาการ ประมาณ 20 เรื่อง
ตีพิมพ์วารสารวิชาการ ผลงานล่าสุด บทความเรื่องศิลปะการถ่ายทอดของครูมืออาชีพ





ผู้บริหารคือผู้ที่ทำงานให้ประสบความสำเร็จโดยอาศัยบุคคลอื่น ภารกิจของ
ผู้บริหารจึงเป็นการส่งเสริมให้ครูทำงานอย่างมีประสิทธิ ภาพโดยมีเป้าหมายอยู่ที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ บทบาทหน้าที่จึงต้องสวมหมวกสองใบคือบทบาทนักบริหารและบทบาท
นักวิชาการอันเป็นภารกิจหลักในการจัดการศึกษา การปฏิรูปการศึกษารอบสองมุ่งสร้างความตระหนักให้บุคลากรทางการศึกษาได้กลับมาทบทวนบทบาทหน้าที่และภารกิจ
โดยเฉพาะผู้บริหารต้องหันกลับมาให้ความสำคัญกับการบริหารงานวิชาการอันเป็นหัวใจของการจัดการศึกษาที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน ภาวะผู้นำทางวิชาการจึงเป็นเครื่องมือในการบริหารโรงเรียนให้ก้าวสู่ความสำเร็จที่ท้าทาย
          1. อยู่โรงเรียนเต็มวันอย่างน้อยสัปดาห์ละ  3 วัน
          2. พัฒนาครูให้ครบทุกคน ครูเป็นกลไกสำคัญที่จะขับเคลื่อนให้งานวิชาการก้าวสู่เป้าหมาย การพัฒนาคุณภาพครูจึงส่งผลต่อการพัฒนาผู้เรียน หากครูเก่งนักเรียนย่อมเก่งตามไปด้วย
           3. ปรับปรุงสภาพแวดล้อมของโรงเรียนให้ร่มรื่นสวยงาม(green) สะอาด(clean)และปลอดภัย(safe) สิ่งแวดล้อมเป็นเสน่ห์ที่ดึงดูดใจให้ผู้ที่ก้าวเข้าสู่โรงเรียนเกิดความสุขความประทับใจ
          4. ปรับเปลี่ยนบรรยากาศและสภาพแวดล้อมให้สีสันสดใส สีมีอิทธิพลต่อจิตใจและการเรียนรู้ การนำสีสันที่สดใสส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยเฉพาะเด็กปฐมวัยเด็กจะชอบเป็นกรณีพิเศษ การเปลี่ยนสีถังน้ำฝนให้สดใสหรือทาสีอาคารเรียนห้องเรียนให้ดูใหม่เสมอจึงเป็นสิ่งที่ผู้บริหารต้องกลับมาเอาใจใสมากขึ้น
         5. ส่งเสริมให้ใช้นวัตกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ ควรจัดห้องที่ส่งเสริมการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองของเด็กให้มากขึ้น เช่น คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เนท สื่อการเรียนรู้ที่ครูผลิตควรนำมาใช้กับเด็กให้มากขึ้น
          6. ห้องสมุด 3 ดี ห้องสมุดเป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดนิสัยรักการอ่าน การอ่านเป็นสะพานสู่ความสำเร็จในการเรียนรู้ โรงเรียนจึงต้องปรับปรุงห้องสมุดให้เกิด 3 ดี ดังนี้ คือ บรรณารักษ์ดี หนังสือดีและบรรยากาศดี
          7. ส่งเสริมการใช้ KM : Knowledge Management การนำทุนทางปัญญามาใช้ในการจัดการเรียนรู้เช่นภูมิปัญญท้องถิ่น หรือการนำไฟไม่สิ้นเชื้อมาร่วมทำการสอน จะพบว่าโรงเรียนที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการจะมีครูที่มีประสบการณ์มากทำการสอน
          8. เร่งสร้างจิตสำนึกให้กับนักเรียนชั้นสูงสุดรักถิ่นฐานบ้านเกิด ปัจจุบันสภาพโรงเรียนเล็กที่อยู่ใกล้ตัวเมืองประสบปัญหาเด็กย้ายออกไปเรียนในเมืองตามค่านิยมของผู้ปกครอง ทำให้คนในชุมชนขาดความผูกพันกับโรงเรียน ผู้บริหารต้องสร้างแรงจูงใจพัฒนานักเรียนให้สู้กับในเมืองที่ครูต่อนักเรียนต่อห้องจำนวนมากย่อมไม่สามารถดูแลเด็กได้ทั่วถึง หากเรามีเด็กจำนวนน้อยกว่าย่อมมีเวลาที่จะส่งเสริมให้เด็กเกิดความเป็นเลิศได้มากกว่า
           ความล้มเหลวขององค์กรเกิดจากภารกิจขององค์กรไม่ชัดเจน สมาชิกองค์กรหย่อนสมรรถภาพ ขาดแคลนทรัพยากรการบริหาร มาตรฐานทางจริยธรรมของสมาชิกในองกรต่ำ ที่กล่าวมาทั้งหมดเกิดจากผู้บริหารไร้ประสิทธิภาพ ถึงเวลาที่ผู้บริหารจะต้องบริหารการเปลี่ยนแปลง โดยเปลี่ยนแปลงตนเองให้เกิดภาวะผู้นำทางวิชาการ เพื่อจะประสานความร่วมมือจากทุกฝ่ายสู่ความสำเร็จร่วมกันอย่างภาคภูมิ


ประเด็นที่ดิฉันชอบและมีความสนใจ
คือ  การมีความรับผิดชอบของผู้นำซึ่งนำมาสู่ความสำเร็จ และมีความรู้ความสามารถและการจัดการบริหารที่เหมาะกับสภาพแวดล้อมและสังคมจัดหลักสูตรที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและมีแหล่งเรียนรู้ที่และสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ และมีสื่อการเรียนที่น่าสนใจเป็นที่ดึงดูดการเรียนรู้ของผู้เรียน และสร้างความเป็นเลิศทางวิชาการแก่ผู้เรียุนสร้างจิตสาธารณะ  การอยู่ร่วมในสังคม



วันอาทิตย์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่2

ทฤษฎีและหลักการบริหารการศึกษา
1.มีหลักการและทฤษฎีคือ
ทฤษฎีของมาสโลว์   ว่าด้วยการจัดอันดับขั้นของความต้องการขอมนุษย์(Maslow-Hierarchy of needs)เรื่องแรงจูงใจแบ่งความต้องการของมนุษย์ตั้งแต่ความต้องการทางด้านกายภาพ ความต้องการด้านความปลอดภัยต้องการด้ารสังคม  ด้านการเคารพนับถือ และประการสุดท้าย คือการบรรลุศักยภาพของตนเอง (selfactualization)คือมีโอกาสได้พัฒนาตนเองถึงขั้นสูงสุดจากการทำงาน  แต่ความต้องการเหล่่านี้ต้องได้รับการตอบสนองตามลำดับขั้น
ทฤษฎีx ทฤษฎีy  ของแมคกรีกอร์(douglas MC Gregor X,Theorry Y) เขาได้เนอแนวคิดการบริหารอยู่บนพื้นฐานของข้อสมมุติฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ต่างกัน

ทฤษฎีX(The Traditional View  of Direction and Control)ทฤษฎีนี้เกิดข้อสมมุติฐานดังนี้
1.คนไม่อยากทำงาน
 2.คนไม่ทะเยอะทะยาน และไม่คิดริเริ่ม ชอบให้สั่ง
 3.คนเห็นแก่ตัวมากกว่าองค์กร
4.มักต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
 5.คนมักโง่และหลอกง่าย   ผลการมองธรรมชาติเช่นนี้  การบริหารจัดการจึงเน้นการใช้เงิน วัตถุ เป็นเครื่องล่อใจ เน้นการควบคุม การสั่งการเป็นต้น 
ทฤษฎีY(The intergration Individual and Organization Goal) ทฤษฎีการข้อนี้เกิดจากข้อสมมุติฐานดังนี้
 1.คนจะให้ความร่วมมือสนับสนุนรับผิดชอบ ขยัน
2.คนไม่เกียจคร้านและไว้วางใจได้
3.คนมีความคิดริเริ่มทำงานถ้าได้รับการจูงใจอย่างถูกต้อง
4.คนมักมีพัฒนาวิธีการทำงาน และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ   
  ผู้บังคับบัญชาจะไม่ต้องควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างเข้มงวดแต่ต้องส่งเสริมให้รู้จักควบคุมตนเองหรือของกลุ่มงานมากขึ้น ต้องให้เกียรติซึ่งกันและกัน  2.หลักการนำไปใช้แนวการปฏิบัติ
 1.เน้นการเรียนการสอนตามสภาพจริง
2.เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ค้นคว้าความรู้ ได้แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระสามารถสรุปแลละสร้างความรู้ใหม่ๆได้จากข้อมูลได้
 3.นักเรียนเป็นผู้ปฏิบัติ ครูคือผู้อำนวยความสะดวก
4.เน้นการปฏิบัติควบคู่กับหลักการและทฤษฎีมีกรอบแนวคิด หลักการสู่การปฏิบัติ
5.เน้นวิธีสอน การเรียนรู้ ใให้หลากหลาย
6.กระบวนการเรียนรู้สำคัญกว่าเนื้อหา
7.ส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้กระบวนคิดมากว่าหาคำตอบที่ตายตัวเพียงคำตอบเดียว
8.ใช้กระบวนการกลุ่ม ในการเรียนรู้ ร่วมกับการเรียนด้วยตนเอง       ดังนั้นผู้เรียนำคัญที่สุด จัดการเรียรู้ให้หลากหลาย ตามศักยภาพของผู้เรียน ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงมีการพัฒนาสติปัญญา  อารมณ์ สังคม จิตใจ คุณธรรม จริยธรรม อยู่ในโลกของความเป็นจริง เป็นคนดี คนเก่งและมีความสุขในสังคม


 เอกสารอ้างอิง
กิติมา ปรีดีดิลก.ทฤษฎีบริหารองค์กกร.กรุงเทพมหานคร;ธนะการพิมพ์,2529
ธีรวุฒิ ประทุมนพรัตน์.ทฤษฎีการบริหารและการจัดองค์การ.สงขลา;มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ,2531. 
วิจิตร  ศรีสอ้านและคณะ.หลักและระบบบริหารการศึกษา.กรุงเทพมหานคร;มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมธิราช,2523.

 

                  .