วันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่11

        การกำหนดมาตรฐานคุณภาพของครูในการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ครูจะต้องทำกิจกรรม 7 อย่างคือ 1) การวิเคราะห์หลักสูตร 2) การวิเคราะห์ผู้เรียน 3) การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย  4) การใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน  5) การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านและเน้นพัฒนาการ 6) การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไขปรับปีรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ  7) การใช้การวิจัยปฏิบัติการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอนของตน
      จากประเด็นดังกล่าว นักศึกษาจะนำวิธีดังกล่าวมาจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร เมื่อนักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  (ข้อสอบ 20 คะแนน) ยกตัวอย่างออกแบบการจัดการเรียนรู้

1.การวิเคราะห์หลักสูตร คือ วามทันสมัยในด้านต่างๆไม่ว่าจะเป็นสื่อที่ใช้ในการเรียนการสอน อุปกรณ์ที่ช่วยเสริมไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต สองสิ่งนี้นับว่ามีอิทธิพลต่อการศึกษาเพราะเป็นแหล่งคนหาข้อมูลสำคัญๆที่เป็นแหล่งที่หาได้ง่ายที่สุดและใกล้ตัวมากที่สุด
ในด้านเนื้อหาของหลักสูตรเห็นได้ว่ามีการปรับปรุงเพื่อให้สอดคล้องกับนักเรียนมากที่สุดและเพื่อให้เข้ากับสถานศึกษาด้วยเพราะบางสถานศึกษามีจำนวนของครูผู้สอนที่ไม่เพียงพอจึงทำให้บางวิชาไม่ได้เรียนหรือได้เรียนน้อยกว่าวิชาอื่นๆ
2. การวิเคราะห์ผู้เรียน คือ เป็นการวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียนเพื่อที่ผู้สอนจะได้ทราบว่าผู้เรียนมี ความพร้อมในการเรียนมากน้อยเพียงใดทั้งนี้เพราะการที่จะใช้สื่อให้ได้ผลดีย่อมจะต้องเลือกสื่อให้มีความสัมพันธ์กับลักษณะผู้เรียน ดังนั้นผู้สอนจะต้องคำนึงถึงลักษณะทั่วไปและลักษณะเฉพาะของผู้เรียนเช่น การกำหนดลักษณะทั่วไป ซึ่งได้แก่  อายุ  ระดับความรู้  สังคม
เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของผู้เรียนแต่ละคน ถึงแม้ว่าลักษณะทั่วไปของผู้เรียนจะไม่มี
ความเกี่ยวข้องกับเนื้อหาบทเรียนก็ตามแต่ก็เป็น สิ่งที่ช่วยให้ผู้สอนสามารถตัดสินระดับของบท
และเพื่อเลือกตัวอย่างของเนื้อหาให้เหมาะสมกับผู้เรียนได้  ส่วนลักษณะเฉพาะของผู้เรียนแต่ละคนนั้นนับว่ามีส่วนสำคัญโดยตรงกับ เนื้อหาบทเรียนตลอดจนสื่อการสอนและวิธีการที่จะ
นำมาใช้ในการสอน 
     3. การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย คือ การจัดกิจกรรมโดยวิธีต่าง ๆ อย่างหลากหลายที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริงเกิดการพัฒนาตนและสั่งสมคุณลักษณะที่จำเป็นสำหรับการเป็นฯสมาชิกที่ดีของสังคมของประเทศชาติต่อไปการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มุ่งพัฒนาผู้เรียน จึงต้องใช้เทคนิควิธีสอนวิธีการเรียนรู้รูปแบบการสอนหรือกระบวนการเรียนการสอนในหลากหลายวิธีซึ่งจำแนกได้ดังนี้
  การจัดการเรียนการสอนทางอ้อม ได้แก่ การเรียนรู้แบบสืบค้น
 เทคนิคการศึกษาเป็นรายบุคคล  ได้แก่  วิธีการเรียนแบบศูนย์การเรียน แบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง
เทคนิคการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ประกอบการเรียน เช่น การใช้สิ่งพิมพ์ ตำราเรียน
            4. การใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน เป็นการสอนโดยนำสื่อต่างๆและเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสนใจและมีความทันสมัยในกระบวนการเรียนเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆจากสื่อมากขึ้น
            5. การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านและเน้นพัฒนาการ เป็นกระบวนการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่สามารถวัดได้ครอบคลุมทั้งเนื้อหาวิชา พฤติกรรม และผลผลิตของผู้เรียน
- การวัดเป็นกระบวนการในการกำหนดตัวเลขหรือสัญลักษณ์ใดๆในเชิงปริมาณอย่างเป็นระบบ
- การประเมินผลนำผลที่ได้จากการวัดมาใช้ในการตัดสินใจโดยการนำผลการวัดมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ในด้านพัฒนาการต่างๆของผู้เรียน
6. การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ จะทำให้ผู้ประเมินรู้ว่าผลการเรียนของเด็กแต่ละคนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่เรียนมากน้อยเพียงใดและจะได้ปรับปรุงพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้ตรงกับความต้องการของผู้เรียนว่าผู้เรียนมีความสามารถที่จะรับและเข้าใจเรื่องที่เรียนเพียงใดจะได้พัฒนาผู้เรียนอย่างถูกต้อง
7. การใช้การวิจัยปฏิบัติการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอนของตน เป็นการทำวิจัยโดยครูผู้สอนในชั้นเรียน เพื่อแก้ปัญหาในชั้นเรียน และนำผลมาใช้ในการปรับปรุงการจัดประสบการณ์ของครู ถือได้ว่าการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และสร้างความรู้ในการปฏิบัติงานของครู
หลักการสำคัญของการเรียนการสอนแบบนี้  คือ
1.  เป็นการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Student Centered) เปิดโอกาสให้ ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตัวเองให้มากที่สุด
2.  หัวข้อ  ประเด็นปัญหา  รวมถึงเนื้อหาที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้  จะเป็นในเชิงบูรณาการ (Integrated) ผู้เรียนจะต้องใช้เนื้อหาในสาขาต่างๆ  มาช่วยในการแก้ปัญหา
3.  เป็นการใช้เทคนิคการสอนกลุ่มย่อย  (Small  geoup  Tutorial)  กลุ่มละ  6-8  คน  ผู้เรียนจะต้องมีโอกาสได้แสดงความคิดเห็น  แลกเปลี่ยนข้อมูล  และประสบการณ์ภายในกลุ่ม
4.  การเรียนรู้ของผู้เรียน  นอกจากจะได้เรียนรู้เนื้อหาวิชาต่างๆ  แล้วยังเป็นการเรียนรู้กระบวนการต่างๆ  ไปในเวลาเดียวกัน  เช่น  กระบาวนการคิด  กระบานการทำงาน  กระบานการแก้ปัญหา
5.  ผู้สอนจะมีบทบาท  เป็นผู้อำนวยความสะดวก  เป็นผู้กระตุ้นให้เกิดการโต้เถียง  แสดงความคิดเห็น  และร่วมมือกันแก้ปัญหา
จุดมุ่งหมาย
1.             เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะในการแก้ปัญหาอย่างมีกระบวนการ
2.             เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในชุมชน
3.             เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะในการเรียนรู้ด้วยตัวเองและจากกลุ่ม


ตัวอย่างการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ สาระหน้าที่พลเมือง
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม         รายวิชา สังคมศึกษา ส 33101: สาระหน้าที่พลเมืองฯ                
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3          ภาคเรียนที่ 2          ปีการศึกษา 2553        ครูผู้สอน นางสาวนัยนา  ป่ากว้าง
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย                                            เวลาเรียน 2 คาบ
1.สาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม
2.มาตรฐานการเรียนรู้
                มาตรฐาน ส 2.1 ปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดีตามกฎหมาย ประเพณีและวัฒนธรรมไทย  ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทย และสังคมโลกอย่างสันติสุข
3.มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น
            มาตรฐาน ส 2.1.1.   ตระหนักถึงคุณค่าในความเป็นพลเมืองดีตามวิถีชีวิตประชาธิปไตยของตนเองและบุคคลอื่นที่มีศักยภาพในการทำประโยชน์ให้แก่สังคมและประเทศชาติ
            มาตรฐาน ส 2.1.2.   ตระหนักถึงสถานภาพ บทบาท สิทธิเสรีภาพ และหน้าที่ในฐานะพลเมืองดีของสังคมและประเทศ เข้าใจความสำคัญในเรื่องสิทธิมนุษยชน เพื่อคุ้มครองปกป้องตนเองและคนอื่นให้ดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างสันติสุข ตลอดจนปฏิบัติตนตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเอง ครอบครัว ชุมชนและประเทศชาติ
4.สาระสำคัญ
            ในสังคมของเรามีคนอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก ฉะนั้นเพื่อให้สมาชิกของสังคมอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข จำเป็นต้องมีแนวทางหรือกฎระเบียบให้คนในสังคมประพฤติปฏิบัติ เนื่องจากในสังคมมีระบอบการเมืองการปกครอง วัฒนธรรม ประเพณี และสภาพแวดล้อมต่าง ๆ  ที่แตกต่างกัน จึงมีกฎระเบียบให้ทุกคนยึดถือปฏิบัติที่แตกต่างกันออกไป ในสังคมประชาธิปไตยสมาชิกในสังคมควรปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีด้วยการปฏิบัติตามกฎหมาย หลักธรรมของศาสนา ประเพณีวัฒนธรรมไทย ดังนั้นทุกคนในสังคมประชาธิปไตยจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย หลักคำสอนทางศาสนา และประเพณีวัฒนธรรม เพื่อจะได้นำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง สังคมส่วนรวม และประเทศชาติ   
5.ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1.       อธิบายการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีของสังคมได้
2.       อธิบายการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยได้      

6.วิเคราะห์ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
          ด้านพุทธพิสัย (Knowledge)  
1.       เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีของสังคมได้
2.       เพื่อให้นักเรียนมีความรู้และเข้าใจในการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยได้
            ด้านทักษะพิสัย (Process)
1.       นักเรียนสามารถบอกขั้นตอนและอธิบาย หรือ วิเคราะห์ การปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีของ
สังคมและการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยได้
             ด้านจิตพิสัย(Affective)
                           1. นักเรียนสามารถประพฤติปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีของสังคมตามหลักคุณธรรม จริยธรรม วัฒนธรรม และประเพณีไทย ในสังคมปัจจุบันได้

ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
               1.ครูเล่าสถานการณ์ของคนยุคปัจจุบันเกี่ยวกับการมีคุณธรรมและขาดคุณธรรมให้นักเรียนและใหฟังชมวีดีทัศน์ เรื่อง โครงการคุณธรรมนำไทย เวลาประมาณ 2-4 นาทีแล้วสนทนาตั้งประเด็นคำถาม ดังเช่น
                     - นักเรียนดูวีดีทัศน์ นักเรียนสังเกตเห็นสิ่งใดบ้าง อะไรบ้าง
                     - นักเรียนดูแล้วเกิดความรู้สึกอย่างไร แสดงความคิดเห็นอย่างไร
                      -นักเรียนดูและฟังเหตุการณ์ที่ครูเล่าให้ฟังแล้วนักเรียนคิดอย่างไรเกี่ยวกับสังคมไทยในยุคปัจจุบัน
               2.ครูนำบัตรคำ คำว่า พลเมือง พลเมืองดี ถามนักเรียนว่า  2 คำนี้มีความหมายว่าอย่างไร และมีส่วนเกี่ยวข้องกับวีดีทัศน์หรือไม่ อย่างไรโดยยกมือขึ้นอภิปรายคำถามนั้นๆๆ
    3.ครูแจ้งให้นักเรียนทราบว่าในคาบเรียนนี้จะเรียนกันเรื่อง  พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย แล้วให้นักเรียนแต่คนตั้งคำถามเกี่ยวพลเมืองที่ดีตามวิถีประชาธิปไตย  พร้อมคำตอบเพื่อที่จะอภิปรายในชั้นเรียน
ขั้นสอน
             1.ครูแจกใบความรู้เรื่อง พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยและให้นักเรียนศึกษาใบความรู้
            2.ครูอธิบายความเป็นพลเมืองดี พร้อมให้นักเรียนศึกษาใบความรู้ไปพร้อมๆกัน
            3.ครูให้นักเรียนทำใบงานจากประเด็นคำถามต่อไปนี้
                    1.หากทุกคนในสังคมประพฤติตามหลักจริยธรรม คุณธรรม ศีลธรรมแล้วจะมีส่วนช่วยให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและประเทศชาติอย่างไรบ้าง
                   2.นักเรียนมีวิธีการปฏิบัติตนเพื่อทำหน้าที่พลเมืองที่ดีในสังคมประชาธิปไตยอย่างไร
            4.ครูสุ่มนักเรียนออกมาเสนอใบงานหน้าชั้นเรียน
ขั้นสรุป
            1.ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเนื้อหาเรื่อง พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย สลับกับอธิบายวีดีทัศน์เพิ่มเติม

คาบเรียนที่ 2                                พลเมืองดีแบบประชาธิปไตย                  เวลา 1 คาบ
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
      1.ครูนำพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาอ่านให้นักเรียนฟัง เรื่องความเพียร และซักถามประเด็นดังเช่น
                  - นักเรียนฟังพระบรมราโชวาทแล้วนักเรียนเกิดความคิดเห็นอย่างไร
                  -และให้นักเรียนอธิบายว่าตนจะนำสิ่งที่ได้ฟังจากพระราชดำรัสไปใช้อย่างไร และในเรื่องใดบ้าง
      2.ครูแจ้งให้นักเรียนทราบว่าในคาบเรียนนี้จะเรียนกันเรื่อง  พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย

  ขั้นสอน
             1.ครูอธิบายเรื่อง พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยและให้นักเรียนฟังพร้อมทั้งแจกตัวอย่าง ข่าวหรือเหตุการณ์ ที่เกี่ยวข้องกับการเป็นพลเมืองดี  และให้นักเรียนแสดงความคิดเห็น โดยการยกตัวอย่างการพลเมืองที่ดีในสังคมยุคปัจจุบัน  ว่าเป็นอย่างไร  
            2.ครูให้นักเรียนทำใบงานหน่วยที่ 1
ขั้นสรุป
            1.ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเนื้อหาเรื่อง พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย และจากใบงานที่ 
8.สื่อการเรียนรู้
              1. วีดีทัศน์ เรื่องพลเมืองดี
              2.  บัตรคำ / โปรแกรม  Power point
                 3. ใบความรู้ เรื่อง พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย  
              4. ใบงาน เรื่อง พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย  
              5. พระราชดำรัสของพระบทาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
              6.ข่าวการประพฤติตนเป็นพลเมืองดี

9.การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
          1. วิธีวัด
              - สังเกตพฤติกรรมรายบุคคล
              - สังเกตพฤติกรรมการทำใบงาน / ตรวจใบงาน
          2. เครื่องมือวัด
              - แบบสังเกตพฤติกรรมรายบุคคล
              -  ใบงานกิจกรรม