วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่3


                                                             
                                           ผู้นำทางวิชาการ
                                       นายพรชัย    ภาพันธ์




ประวัติผู้นำทางวิชาการ

ชื่อจริง: พรชัย
ชื่อกลาง: พร
นามสกุล: ภาพันธ์
   
คำสำคัญ:
   
อาชีพ: รับราชการ ผู้อำนวยการโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 63(ชุมชนบ้านคำแดง) ตำบลเดิด อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร
ตำแหน่ง: ผู้อำนวยการโรงเรียน
องค์กร/บริษัท: โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 63(ชุมชนบ้านคำแดง)
ที่อยู่: หมู่ 17 บ้านคำแดง ตำบลเดิด
อำเภอ: เมื่อง
จังหวัด: จังหวัดยโสธร
รหัสไปรษณีย์: 35000
ประเทศ: ไทย
   
ประวัติย่อ: เกิดวันที่ 2 กุมภาพันธ์  2502 ที่ศรีสะเกษ แต่ติดตามคุณพ่อไปเติบโตที่ยโสธร
การศึกษา ปริญญาโท การบริหารการศึกษาจากสถาบันราชภัฏอุบลราชธานี
รับราชการ 1 สิงหาคม 2522
ดำรงตำแหน่งครูใหญ่จากการสอบคัดเลือก
พ.ศ.2531 และ
สอบคัดเลือกเข้าสู่ตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ พ.ศ.2536
ประเมินเข้าสู่ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน(ผอ.คุณภาพ)พ.ศ.2544
สิ่งที่ชอบทำยามว่าง เขียนบทความทางวิชาการ ประมาณ 20 เรื่อง
ตีพิมพ์วารสารวิชาการ ผลงานล่าสุด บทความเรื่องศิลปะการถ่ายทอดของครูมืออาชีพ





ผู้บริหารคือผู้ที่ทำงานให้ประสบความสำเร็จโดยอาศัยบุคคลอื่น ภารกิจของ
ผู้บริหารจึงเป็นการส่งเสริมให้ครูทำงานอย่างมีประสิทธิ ภาพโดยมีเป้าหมายอยู่ที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ บทบาทหน้าที่จึงต้องสวมหมวกสองใบคือบทบาทนักบริหารและบทบาท
นักวิชาการอันเป็นภารกิจหลักในการจัดการศึกษา การปฏิรูปการศึกษารอบสองมุ่งสร้างความตระหนักให้บุคลากรทางการศึกษาได้กลับมาทบทวนบทบาทหน้าที่และภารกิจ
โดยเฉพาะผู้บริหารต้องหันกลับมาให้ความสำคัญกับการบริหารงานวิชาการอันเป็นหัวใจของการจัดการศึกษาที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน ภาวะผู้นำทางวิชาการจึงเป็นเครื่องมือในการบริหารโรงเรียนให้ก้าวสู่ความสำเร็จที่ท้าทาย
          1. อยู่โรงเรียนเต็มวันอย่างน้อยสัปดาห์ละ  3 วัน
          2. พัฒนาครูให้ครบทุกคน ครูเป็นกลไกสำคัญที่จะขับเคลื่อนให้งานวิชาการก้าวสู่เป้าหมาย การพัฒนาคุณภาพครูจึงส่งผลต่อการพัฒนาผู้เรียน หากครูเก่งนักเรียนย่อมเก่งตามไปด้วย
           3. ปรับปรุงสภาพแวดล้อมของโรงเรียนให้ร่มรื่นสวยงาม(green) สะอาด(clean)และปลอดภัย(safe) สิ่งแวดล้อมเป็นเสน่ห์ที่ดึงดูดใจให้ผู้ที่ก้าวเข้าสู่โรงเรียนเกิดความสุขความประทับใจ
          4. ปรับเปลี่ยนบรรยากาศและสภาพแวดล้อมให้สีสันสดใส สีมีอิทธิพลต่อจิตใจและการเรียนรู้ การนำสีสันที่สดใสส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยเฉพาะเด็กปฐมวัยเด็กจะชอบเป็นกรณีพิเศษ การเปลี่ยนสีถังน้ำฝนให้สดใสหรือทาสีอาคารเรียนห้องเรียนให้ดูใหม่เสมอจึงเป็นสิ่งที่ผู้บริหารต้องกลับมาเอาใจใสมากขึ้น
         5. ส่งเสริมให้ใช้นวัตกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ ควรจัดห้องที่ส่งเสริมการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองของเด็กให้มากขึ้น เช่น คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เนท สื่อการเรียนรู้ที่ครูผลิตควรนำมาใช้กับเด็กให้มากขึ้น
          6. ห้องสมุด 3 ดี ห้องสมุดเป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดนิสัยรักการอ่าน การอ่านเป็นสะพานสู่ความสำเร็จในการเรียนรู้ โรงเรียนจึงต้องปรับปรุงห้องสมุดให้เกิด 3 ดี ดังนี้ คือ บรรณารักษ์ดี หนังสือดีและบรรยากาศดี
          7. ส่งเสริมการใช้ KM : Knowledge Management การนำทุนทางปัญญามาใช้ในการจัดการเรียนรู้เช่นภูมิปัญญท้องถิ่น หรือการนำไฟไม่สิ้นเชื้อมาร่วมทำการสอน จะพบว่าโรงเรียนที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการจะมีครูที่มีประสบการณ์มากทำการสอน
          8. เร่งสร้างจิตสำนึกให้กับนักเรียนชั้นสูงสุดรักถิ่นฐานบ้านเกิด ปัจจุบันสภาพโรงเรียนเล็กที่อยู่ใกล้ตัวเมืองประสบปัญหาเด็กย้ายออกไปเรียนในเมืองตามค่านิยมของผู้ปกครอง ทำให้คนในชุมชนขาดความผูกพันกับโรงเรียน ผู้บริหารต้องสร้างแรงจูงใจพัฒนานักเรียนให้สู้กับในเมืองที่ครูต่อนักเรียนต่อห้องจำนวนมากย่อมไม่สามารถดูแลเด็กได้ทั่วถึง หากเรามีเด็กจำนวนน้อยกว่าย่อมมีเวลาที่จะส่งเสริมให้เด็กเกิดความเป็นเลิศได้มากกว่า
           ความล้มเหลวขององค์กรเกิดจากภารกิจขององค์กรไม่ชัดเจน สมาชิกองค์กรหย่อนสมรรถภาพ ขาดแคลนทรัพยากรการบริหาร มาตรฐานทางจริยธรรมของสมาชิกในองกรต่ำ ที่กล่าวมาทั้งหมดเกิดจากผู้บริหารไร้ประสิทธิภาพ ถึงเวลาที่ผู้บริหารจะต้องบริหารการเปลี่ยนแปลง โดยเปลี่ยนแปลงตนเองให้เกิดภาวะผู้นำทางวิชาการ เพื่อจะประสานความร่วมมือจากทุกฝ่ายสู่ความสำเร็จร่วมกันอย่างภาคภูมิ


ประเด็นที่ดิฉันชอบและมีความสนใจ
คือ  การมีความรับผิดชอบของผู้นำซึ่งนำมาสู่ความสำเร็จ และมีความรู้ความสามารถและการจัดการบริหารที่เหมาะกับสภาพแวดล้อมและสังคมจัดหลักสูตรที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและมีแหล่งเรียนรู้ที่และสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ และมีสื่อการเรียนที่น่าสนใจเป็นที่ดึงดูดการเรียนรู้ของผู้เรียน และสร้างความเป็นเลิศทางวิชาการแก่ผู้เรียุนสร้างจิตสาธารณะ  การอยู่ร่วมในสังคม



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น